สํานักส่งเสริมและบริการวิชาการ



About us

    สํานักส่งเสริมและบริการวิชาการ ได้รับการจัดตั้งเป็นส่วนราชการเทียบเท่าคณะตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการ ในชื่อเดิมสํานักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ.2529 ต่อมาในปี พ.ศ.2559 ได้มีประกาศพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปรับเปลี่ยนระบบการบริหารเป็น มหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐ และในปีพ.ศ. 2563 สํานักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ" ซึ่งเป็นส่วนงานอํานวยการและสนับสนุนภารกิจของวิทยาเขตปัตตานี มีภาระหน้าที่ในการสร้างงานบริการวิชาการและถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีที่หลากหลายรูปแบบเพื่อเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยกับชุมชน สร้างเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและยกระดับชุมชนเข้มแข็ง หรือภารกิจอื่นตามที่มหาวิทยาลัยมอบหมาย โดยมีหน่วยงาน สถานีบริการวิชาการชุมชน ที่ช่วยสนับสนุนภารกิจของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ คือ
    1. สถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ อ.จะนะ จ.สงขลา มีหน้าที่ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านอาหารและโภชนาการ และเป็นแหล่งเรียนรู้เชื่อมโยง เครือข่ายมหาวิทยาลัยกับชุมชน สังคม ภาครัฐ/หน่วยงาน ภาคเอกชน และเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน

    Jana Photo
    2. สถานีบริการวิชาการชุมชนเทพา อ.เทพา จ.สงขลา มีหน้าที่ใน....

    Thepa Photo
    3. สถานีบริการวิชาการชุมชนปัตตานี อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี มีหน้าที่ใน.....

    Pattani Photo

Vision

  • "เป็นองค์กรบริการวิชาการระดับประเทศเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม"

Mission

  • ผลิตงานบริการวิชาการและนวัตกรรมการบริการที่มีคุณภาพและหลากหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองความต้องการชุมชนและสังคม
  • บูรณาการนำองค์ความรู้ งานวิจัย และเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยถ่ายทอดสู่ชุมชนและสังคม
  • สร้างและพัฒนาเครือข่ายบริการวิชาการหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และเอกชนให้มีความ เข้มแข็ง
  • พัฒนาสถานีบริการวิชาการชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เข้าถึง และตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและสังคมอย่างแท้จริง

ประวัติสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ
(สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง)


พ.ศ. 2517
       มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ความเห็นชอบจัดตั้ง “โครงการส่งเสริมการศึกษาและฝึกอบรมภาคพิเศษ” ขึ้นเป็นหน่วยงานหนึ่งในสำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตปัตตานี ทำหน้าที่จัดฝึกอบรมวิชาชีพคหกรรมศาสตร์ให้แก่ประชาชนทั่วไป ร่วมกับภาควิชาคหกรรมศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์ และโรงเรียนอาชีวศึกษาปัตตานี มี ดร.ชำนาญ ประทุมสินธุ์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโครงการส่งเสริมการศึกษาและฝึกอบรมภาคพิเศษ

พ.ศ. 2521
       สำนักราชเลขาธิการได้มอบทุนพระราชทานจำนวน 403,000 บาท จัดตั้งหมู่บ้านเยาวชนสงขลานครินทร์ ณ หมู่บ้านปากน้ำ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี เพื่อเป็นสถานีบริการวิชาการชุมชน จัดฝึกอบรมวิชาชีพต่างๆให้แก่เยาวชนและผู้นำท้องถิ่น และได้จัดทำโครงการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานเยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับสำนักงานแรงงาน จ.ปัตตานี ปัจจุบันหมู่บ้านเยาวชนสงขลานครินทร์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีบริการวิชาการชุมชนปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี
พ.ศ. 2522
       สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พิจารณาร่างโครงการจัดตั้งสำนักส่งเสริมการศึกษาและฝึกอบรมและมีมติรับหลักการให้จัดตั้งเป็น “โครงการจัดตั้งสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง”

พ.ศ. 2523



       ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิเอเชียเป็นเงิน 250,000 บาท ดำเนินโครงการทดลองโครงการโรงเรียนฐานความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนเบ็ดเสร็จ ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยา เขตปัตตานี ในโครงการศึกษาศาสตร์พัฒนาชุมชนเบ็ดเสร็จ และจัดทำโครงการร่วมกับกองเยาวชนชนบท สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งศูนย์พัฒนาเยาวชนภาคใต้ อ.จะนะ จ.สงขลา เพื่อเป็นศูนย์ฝึกและปฏิบัติการด้านอาชีพ ให้แก่เยาวชนในชนบท ปัจจุบัน คือ สถานีบริการวิชาการชุมชนจะนะ อ.จะนะ จ.สงขลา (เดิมใช้ชื่อว่า“ศูนย์อาหารโภชนาการและการพัฒนาชนบทภาคใต้”)

พ.ศ. 2525
       ทบวงมหาวิทยาลัยได้ให้ความเห็นชอบบรรจุ “สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง” ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529)
พ.ศ. 2529
       สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่องได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2529 ให้เป็นส่วนราชการหนึ่งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อให้เป็น หน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัยที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ปฏิบัติภารกิจหลักในการให้บริการวิชาการแก่สังคม โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้



       1. เพื่อสนับสนุนส่งเสริมและประสานงานบริการวิชาการแก่หน่วยงานภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยทั้ง ภาครัฐและภาคเอกชน
       2. เพื่อนำทรัพยากรด้านกำลังคน วิทยาการ เทคโนโลยีและเครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยไปใช้ในการให้บริการชุมชน โดยเฉพาะต่อชุมชนภาคใต้ โดยการจัดกิจกรรมฝึกอบรม ประชุมสัมมนา การส่งเสริมการศึกษา และการให้การศึกษาต่อเนื่องแก่ชุมชน
พ.ศ. 2559
       มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปี พ.ศ. 2559 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 สำนักส่งเสริมฯ ได้เปลี่ยนสถานภาพ เป็นส่วนงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีภาระหน้าที่ให้บริการวิชาการ สนับสนุนการวิจัยและการบริหารจัดการ เพื่อส่งเสริมและบริการวิชาการแก่ หน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมทั้งชุมชน
การให้บริการวิชาการ ดำเนินการใน 3 ลักษณะ ดังนี้
       1. การบริการด้านวิชาการโดยจัดกิจกรรมการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา รวมทั้งการเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต และสิ่งพิมพ์ ฯลฯ
       2. การบริการให้คำปรึกษาและแนะนำ ตลอดจนการศึกษาวิเคราะห์ สาธิต ทดลองที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคล ชุมชน ท้องถิ่น องค์กรต่าง ๆ สำหรับนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น และ/หรือการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนสังคม
       3. การประสานงานความร่วมมือในโครงการพัฒนาต่างๆ โดยส่งเสริม สนับสนุนโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งภาครัฐ ประชาสังคม และเอกชน เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของมหาวิทยาลัยในการเป็นที่พึ่งของชุมชนท้องถิ่นภาคใต้
พ.ศ. 2563
       สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๓๐๔ ง วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๒ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๒